Pages

Monday, August 17, 2020

กินข้าวไม่ตรงเวลา อาจไม่ใช่สาเหตุเดียว “โรคกระเพาะอาหาร” - ผู้จัดการออนไลน์

beritaterikat.blogspot.com


หลายๆ คน ยังคงมีความเชื่อที่ผิดๆ ว่า โรคกระเพาะอาหาร นั้น เกิดมาจากสาเหตุหลักเลย คือ การนับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา ซึ่งถ้ามาศึกษาข้อเท็จจริงแล้วนั้น สาเหตุที่ว่านี้ ไม่ถูกต้องซะทีเดียว ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ก็มีที่มาและสาเหตุเหมือนกันนะ


โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร

โรคกระเพาะอาหาร หรือ Gastritis คือโรคที่มีอาการอักเสบหรือระคายเคืองบริเวณเยื่อบุในอาหาร ซึ่งในบางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงระยะสั้นๆ และรักษาหายได้เพียงกินยาตามแพทย์สั่ง แต่หากมีอาการที่หนักขึ้น เช่น มีการอักเสบแบบเรื้อรัง ก็จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งก็สามารถพัฒนาเป็นโรคร้ายแรง เช่น กระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดได้

โดยอาการทั่วไปของโรคดังกล่าวนี้ จะมีอาการคือ มีการปวดท้องส่วนบน ร่วมกับการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียนหลังจากกินอาหาร ซึ่งถ้ามีอาการแทรกซ้อนจากแผลที่เกิดขึ้นจากกระเพาะอาหาร อาจจะทำให้เกิดกระเพะบาง กระเพาะทะลุ มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร จาอาจจะทำให้เสียเลือดจนเสียชีวิตได้


สาเหตุของโรค

จากความเชื่อเดิมๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดมาตลอดนั้น ในทางการแพทย์ได้อธิบายว่า สภาพในกระเพาะอาหาร จะมีความเป็นกรดสูง ซึ่งร่างกายจะสร้างเยื่อเมือกเคลือกผนังกระเพาะเพื่อทำหน้าที่ป้องกันเยื่อบุกระพาะอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้น คือมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเคอร์ ไพโลไร ต่างหาก

ซึ่งถ้ากระเพาะอาหารมีการติดเชื้อที่ว่านี้แล้ว ก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และเยื่อเมือกที่เคลือบกระเพาะอยู่เกิดความผิดปกติ ซึ่งต้องย่อยอาหารนานขึ้น และทำให้ผิวกระเพาะอาหารจึงเกิดการอักเสบตามมาด้วย และเมื่อเชื้อเข้าอยู่ในกระเพาะอาหารเรียบร้อยแล้ว ก็จะแปรสภาพให้เป็นเบส (ด่าง) ทำให้เชื้อสามารถสามารถทนอยู่ในกระเพาะที่มีสภาวะเป็นกรดได้ จากนั้นเชื้อจะไปรวมตัวอยู่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดอาการอักเสบได้ จนทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น จนกลายเป็นโรคกระเพาะอาหาร ในที่สุด โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้นั้น สามารถปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม

ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนั้น ยังมีอีกหลายสาเหตุได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อราบางชนิด, พฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ คาเฟอีน และ การกินยาที่ฤทธิ์กัดกระเพาะ ซึ่งมักเป้นกลุ่มยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดหรือยาสเตียรอยด์ ที่มีผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้บางลง จนทำให้มีผลต่อความสามารถในการป้องกันกรดที่จะหลั่งออกมาย่อยอาหาร


การรักษาและการป้องกันโรคกระเพาะอาหาร

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น จริงๆ ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อมากิน เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน, ยาเมโทรนิดาโซล หรือยาอะมอกซิซิลลิน ซึ่งถ้ากินยาตามที่ทางแพทย์สั่ง ก็สามารถที่จะหายขาดได้ แต่ถ้ายังไม่หาย อาจจะเป็นไปได้ว่า ยังคงมีเชื้อหลงเหลืออยู่ และยิ่งมีสิ่งเร้าไปกระตุ้น ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบได้ แต่ถ้ามีอาการกระเพาะเป็นแผล แพทย์ตจะจ่ายยาที่ลดการหลั่งกรด รวมถึงยาที่ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย

ส่วนการป้องกันโรคกระเพาะอาหารนั้น แค่กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรค แต่อย่างไรก็ตามหากเรายังไม่แน่ใจว่า อาหารที่เรากินเข้าไปนั้นจะมีเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อยู่หรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ

ซึ่งถ้าไม่อยากให้มีการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารที่ผิดปกติ การกินอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดก็จะช่วยลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้ รวมถึงงดสูบบุหรี งดดื่มทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ที่สำคัญที่สุด อย่าซื้อยาทานเอง โดยเฉพาะ ยาที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอย่างรุนแรง

Let's block ads! (Why?)


August 18, 2020 at 08:39AM
https://ift.tt/2Fw6FAp

กินข้าวไม่ตรงเวลา อาจไม่ใช่สาเหตุเดียว “โรคกระเพาะอาหาร” - ผู้จัดการออนไลน์
https://ift.tt/36Hzof2
Home To Blog

No comments:

Post a Comment